วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

โครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง30227 ชื่อวิชา คอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2558
โครงงานสร้างสื่อเพื่อการศึกษา การทำน้ำยาล้างจานโดยใช้มะนาวและมะกรูด







ชื่อผู้ทำโครงงาน
        


1. น.ส. ภัททิยา งามบ้าน           เลขที่ 20      ชั้น ม. 6.8
2. น.ส. สุวิมล บุบผาสุวรรณ        เลขที่ 21      ชั้น ม. 6.8
3.นาย จีรณัฐ สุวรรณภาค         เลขที่ 24      ชั้นม.6.8
          4.นาย สุภาพ นาคนาคา            เลขที่ 34      ชั้นม.6.8

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน  
 คุณครู บงกช บุญเลิศ

        ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
      โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย



บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง น้ำยาล้างจานจากมะนาวและมะกรูด นี้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการสร้างสื่อเพื่อการศึกษาในรูปแบบของBlog ที่สามารถเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำยาล้างจานด้วยตนเอง โดยใช้ต้นทุนต่ำ เพราะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ และกระบวนการศึกษาเพื่อดูว่าน้ำยาล้างจานที่ทำเองจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับน้ำยาล้างจานทั่วไปหรือไม่ และพบว่าน้ำยาล้างจานที่ทำเองมีประสิทธิภาพเท่ากันกับน้ำยาล้างจานทั่วไป อีกทั้งมีต้นทุนที่ต่ำกว่า สามารถทำใช้เองได้ภายในบ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช่จ่ายภายในบ้านด้วย



กิตติกรรมประกาศ
                   
โครงงานการสร้างสื่อเพื่อการศึกษา เรื่องการทำน้ำยาล้างจานโดยใช้มะนาวและมะกรูด นี้สำเร็จได้ด้วยดี ทางคณะผู้จัดทำได้รับความช่วยเหลือจาก คุณครูบงกช บุญเลิศ  ที่ได้ให้ความรู้  คำแนะนำตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้โครงงานนี้เสร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณคุณครูโรงเรียนดำรงราษฏร์สงเคราะห์ในกลุ่มสาระ วิชาคอมพิวเตอร์ได้คำแนะนำในการจัดทำรายงาน


บทที่1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ในปัจจุบันนั้นประเทศไทยของเราประสบปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำซึ่งมีผลต่อราคาของสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งอุปโภคและบริโภคทำให้ประชาชนต้องประสบปัญหาเหล่านี้และกลุ้มใจในรายรับ-รายจ่ายที่ตามมาภายในครัวเรือนซึ่งรายจ่ายมากกว่ารายรับพวกเราจึงได้ปรึกษาและหาทางออกเพื่อช่วยท่านพ่อบ้านและแม่บ้านทั้งหลาย ให้มีรายจ่ายภายในครัวเรือนลดน้อยลงบ้าง ซึ่งต้องเริ่มจากสิ่งที่เราใช้ทุกวัน และสิ้นเปลืองอย่างมาก เช่น น้ำยาล้างจาน เราจึงได้คิดค้นวิธีศึกษา และวิธีทำน้ำยาล้างจานใช้เองซึ่งจะทำให้ได้ลดรายจ่ายภายในครัวเรือนอีกทั้งน้ำยาล้างจานที่เราได้ศึกษาและนำมาเสนอนี้ล้วนมีวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติหาได้ภายในครัวเรือนและท้องถิ่น ไม่อันตราย แถมยังไม่ต้องซื้อหา ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนอีกมากมาย ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำได้คิดการสร้างสื่อเพื่อการศึกษาโดยใช้ Blog เพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาในการทำน้ำยาล้างจานโดยใช้มะนาว และสรรพคุณที่สามารถรักษาโรคทั่วไปของมะนาว โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและประชาชนสามารถเข้ามาศึกษาได้ตลอดเวลาอีกทั้งยังทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้าง Blog เป็นสื่อในการศึกษาวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
2.เพื่อศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของมะนาวและมะกรูด
3.เพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาข้อมูลใน Blog ที่ได้สร้างไว้

ขอบเขตของโครงงาน

เนื้อหา:   เกี่ยวกับ สรรพคุณของมะนาวและมะกรูดและวิธีการทำน้ำยาล้างจาน          
ระยะเวลา:  ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2558  ถึงวันที่ 29 มกราคม 2559
สถานที่:   โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย

หลักการและทฤษฎี

จากการศึกษาโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง การทำน้ำยาล้างจานโดยใช้มะนาวและมะกรูด นั้นทำให้เราได้ความรู้ และประโยชน์ในการใช้สมุนไพรในการนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ และ Blogger เป็นสื่อในระบบ E-learning ไว้สำหรับเป็นสื่อเพื่อการศึกษาทำให้เรารู้จักใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ และBloggerเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้สนใจที่จะสร้างสื่อกลางเพื่อการศึกษาและการเรียนการสอนได้อย่างดี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     
1.  สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม
2.  ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของมะนาวและมะกรูด
3. ใช้ blogger เป็นสื่อกลางในการศึกษา ทำให้มีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
4.  ให้ผู้ที่สนใจนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น














บทที่2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

http://www.suannakara.com/wp-content/uploads/2015/01/2f8b86cecfe765dda95513d422a43194.jpg

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia (Christm.)  Swingle
ชื่อสามัญ : Common lime
วงศ์ : Rutaceae
ชื่อภาษาไทย : มะนาว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่หรือรูปรียาว กว้าง 3-5 ซม. ยาว4-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนมีปีกแคบๆ ขอบใบหยัก แผ่นใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ตามผิวใบ ดอก ออกเป็นช่อสั้น 5-7 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 4-5 กลีบ หลุดร่วงง่าย ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม พอแก่เป็นสีเหลือง ข้างในแบ่งเป็นห้องแบบรัศมี มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มี 10-15 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : น้ำมะนาว (น้ำคั้นจากผล)  ราก  ใบ  ดอก  ผล  เมล็ด




สรรพคุณ
1. น้ำมะนาว  - แก้โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) ทำอาหาร ขับเสมหะ ฟอกโลหิต ทำให้ผิวนุ่มนวล แก้ซาง บำรุงเสียง บำรุงโลหิต ขับระดู แก้เล็บขบ แก้ขาลาย จิบแก้ไอ ดับกลิ่นเหล้า ฆ่าพยาธิในท้อง รักษาผม ขับลม รักษาลมพิษ แก้ริดสีดวง แก้ระดูขาว แก้พิษยางน่อง แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
2.  ราก - กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ถอนพิษไข้ กลับไข้ซ้ำ
3.  ใบ - ฟอกโลหิต แก้ตับทรุด
4.  ดอก - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ ) แก้ไอ ขับเสมหะ
5.  ผล - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง ทาแก้ผิวแห้งตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ
6.  เมล็ด - แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้ไข้ขับเสมหะ แก้พิษฝีภายใน
วิธีและปริมาณที่ใช้
1. ยาแก้ไอขับเสมหะน้ำในผลที่โตเต็มที่ น้ำมะนาว 2-3 ช้อนแกง, เมล็ดมะนาว 10-20 เมล็ด  นำน้ำมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย จิบ จะช่วยทำให้เสมหะถูกขับออก และเสียงดี ถ้าเป็นเมล็ดมะนาวนำไปคั่วให้เหลือง บดให้ละเอียด เติมพิมเสน 2-5 เกล็ด ชงน้ำร้อนรับประทาน เป็นยาขับเสมหะ
2. ยาป้องกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด)ใช้น้ำจากผลที่แก่จัดไม่จำกัด เติมเกลือ น้ำตาล น้ำแข็ง ใช้เป็นเครื่องดื่ม หรือจะใส่ในอาหาร ก็ได้ผลเช่นกัน
3. ยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้น้ำจากผล ครึ่งช้อนชา หรือ 1/4 ช้อนแกง แผลถูกมีดบาด เลือดไม่หยุด บีบน้ำมะนาวลงไป 3-4 หยด เลือดจะหยุด
สารเคมี :ใบ มี Alcohols, Aldehydes, Elements, Terpenoids, Citral  ผล มี  1 - Alanine, γ - Amino butyric acid, 1 - Glutamic acidเมล็ด มี  Glyceride Oil น้ำมันหอมระเหย มี  P - Dimethyl - a - Styrene, Terpinolene










http://www.livingoops.com/wp-content/uploads/2014/05/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%94.jpg


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
ชื่อภาษาไทย : มะกรูด
ชื่อท้องถิ่น: - มะขู่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ไฮ่สะหวิย(ปะหล่อง), มะกิ้ว(ไทลื้อ), มะขูด(คนเมือง), มะขู(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - มะขูด มะขุน (ภาคเหนือ)ม ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้), มะหูด (หนองคาย), โกร้ยเขียด (เขมร), มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร แตกกิ่งก้าน ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง ใบ เป็นใบประกอบชนิดลดรูป จากก้านใบแผ่เป็นแผ่นใบขนาดใหญ่เท่ากับแผ่นใบ และมีใบย่อย 1 ใบ ใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 4-7 ซม. ผิวใบเรียบเป็นมัน ใบมีสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีต่อมน้ำมัน กลิ่นหอมมาก ดอก สีขาว ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก เกิดตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 4-8 กลีบ รูปรี ร่วงง่าย เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-7 ซม. ผิวขรุขระ เมื่อสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ใบ เป็นใบประกอบชนิดลดรูป จากก้านใบแผ่เป็นแผ่นใบขนาดใหญ่เท่ากับแผ่นใบ และมีใบย่อย 1 ใบ ใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 4-7 ซม. ผิวใบเรียบเป็นมัน ใบมีสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีต่อมน้ำมัน กลิ่นหอมมาก ดอกสีขาว ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก เกิดตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 4-8 กลีบ รูปรี ร่วงง่าย เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-7 ซม. ผิวขรุขระ เมื่อสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์
- ผล ใช้เพิ่มรสชาติอาหารประเภทต่างๆให้มีรสเปรี้ยว เช่น แกงและน้ำพริก, ใบ หั่นเป็นฝอยๆ ใส่อาหารทำให้มีกลิ่น หอม(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่,ปะหล่อง) ผล ปรุงรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว, ใบ ใช้ปรุงอาหารเพื่อให้ มีกลิ่นหอม เช่น ซอยเป็นฝอยหรือฉีกเป็นชิ้นเล็กๆโรยลง ในแกง(คนเมือง)
- ใบและเปลือกผล สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน แลมหน้ามืด ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
- ผล รสเปรี้ยว เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ น้ำลายเหนียว กัดเถาด้านในท้อง แกระดูเสีย ฟอกโลหิต และขับผายลม แก้ปวดท้องในเด็ก สระผม ขจัดรังแค ช่วยให้ผมดกดำ
- ราก รสเย็นจืดแก้พิษฝีภายใน เสมหะเป็นโทษ ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาแก้ลมจุกเสียด ไข้กำเดา ถอนพิษผิดสำแดง
-น้ำผลมะกรูด รสเปรี้ยว แก้ศอเสมหะ กัดเสมหะ แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร เมื่อใช้ดองยาจะมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี และช่วยป้องกันยาบูดเน่า
-เนื้อผลมะกรูด รสเปรี้ยว หอมเย็น แก้อาการคันศีรษะ
-ใบ รสหอม แก้ไอ อาเจียนเป็นโลหิต ช้ำใน อาการจุกเสียด ขับลมในลำไส้ ดับกลิ่นดาว


บทที่ 3 
วิธีดำเนินการ

ตารางการดำเนินการ






วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้าง Blog เป็นสื่อในการศึกษาวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
2.เพื่อศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของมะนาวและมะกรูด
3.เพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาข้อมูลใน Blog ที่ได้สร้างไว้

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้

1.เครื่องคอมพิวเตอร์
2.อินเทอร์เน็ต

ส่วนประกอบการทำน้ำยาล้างจาน

1.  F24  ½ กิโลกรัม  (สารช่วยทำความสะอาดขจัดความมัน)         
2.  N 70  1 กิโลกรัม (สารช่วยทำความสะอาดเกิดฟอง )    
3.  มะนาว  5 ลุก
4.  มะกรูด 7   ลุก
5.  น้ำหอมกลิ่นมะนาว 1 ขวด
6.  เกลือ 1 กิโลกรัม
7.  น้ำเปล่า 5-6 ลิตร
8.  กะละมัง หม้อ มีด เขียง ไม้พาย
9.  ขวดพลาสติก 4 ขวด

งบประมาณ
ประมาณ 200 บาท

วิธีการทำน้ำยาล้างจาน
  1. ให้นำมะกรูดและมะนาวมาล้างให้สะอาดแล้วผ่าครึ่งเป็น 2 ซีก เสร็จแล้วนำไปต้มด้วยน้ำเดือด
  2. เมื่อต้มเสร็จแล้วให้ตักมะกรูดและมะนาวออกจากหม้อ แล้วพักน้ำที่ต้มทิ้งไว้จนเย็น
  3. เท N70 ใส่กะละมัง แล้วกวนให้ไปทางเดียวกันเป็นเวลาประมาณ 10 นาที  
  4. จากนั้นเท F24 ใส่ลงไปแล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกันอีกประมาณ10 นาที
  5. จากนั้นน้ำเกลือใส่หม้อแล้วเติมน้ำต้มในเวลา5 นาที
  6. พอส่วนผสมในกะละมังเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมดแล้ว นำน้ำมะกรูดและมะนาวเทลงไป แล้วคนไปเรื่อยๆ
  7. พอคนไปสักพักให้นำน้ำเกลือเทลงไป เพื่อให้ตัวเนื้อน้ำยานั้นเป็นเนื้อเดียวกันมากยิ่งขึ้น
  8. พอส่วนผสมหนืดแล้วให้เติมน้ำเปล่าอีกประมาณ 5 ลิตร แล้วคนต่อประมาณ 10 นาที
  9. ทิ้งไว้ประมาณ 1คืนเพื่อให้ฟองนั้นยุบตัวลง เสร็จแล้วบรรจุลงในขวด

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

         สมุนไพรนอกจากจะไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเป็นพิษ ยังอ่อนโยนต่อมือของผู้ใช้อีกด้วย ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีแรงๆ ยิ่งไปกว่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสังเคราะห์ส่วนใหญ่จะใส่ขี้ผึ้ง สารขจัดคราบและซิลิโคนเข้าไปมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถล้างออกหมด ส่วนสารสกัดจากดอกไม้และพืช เช่น มะกรูด สามารถขจัดคราบ ดับกลิ่นคาวและสามารถล้างออกได้ง่าย เมื่อนำเอาน้ำยาล้างจานมะกรูด ที่เราได้ผลิตขึ้นนั้น ไปล้างจานชามที่เราใช่บรรจุอาหารแล้ว ผลปรากฏว่าจานชามที่มีสิ่งสกปรกติดอยู่สะอาดขึ้นไม่มีคราบมัน และไม่มีกลิ่นคาว ซึ่งเป็นผลที่น่าพอใจอย่างมาก

อภิปรายและสรุปผล

         จากการที่เราได้ศึกษาและได้ทำการผลิตน้ำยาล้างจานจากมะกรูดออกมาใช้นั้น น้ายาล้างจานมะกรูดมีประสิทธิภาพในการชำระสิ่งสกปรก ซึ่งน้ำยาล้างจานมะกรูดของเรานั้นมีส่วนผสมของน้ำด่าง(น้ำขี้เถ้า)ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบส ช่วยในการชำระล้างสิ่งสกปรก ส่วนมะกรูดนั้นมีฤทธิ์เป็นกรดซึ่งทำปฏิกิริยากับไขมัน จึงช่วยขจัดคราบมันและกลิ่นคาว เกลือช่วยขจัดสิ่งสกปรก ส่วนหัวเชื้อ N70 ช่วยให้น้าล้างจานของเรามีฟองน่าใช้ ดังนั้นน้ำยาล้างจานมะกรูดที่เราผลิตขึ้นนี้จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทางเลือกใหม่ที่ดีอีกทางหนึ่ง ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายและทำจากสมุนไพร

บทที่ 4 ผลการดำเนินการโครงงาน

ตารางผลการทดลอง
คุณสมบัติน้ำยาล้างจาน
ผลการทดลอง
น้ำยาล้างจานทั่วไป
น้ำยาล้างจานที่ทำเอง
1.ขจัดคราบมัน และความสะอาดหมดจด
สามารถขจัดคราบมันได้ดีเท่ากัน
สามารถขจัดคราบมันได้ดีเท่ากัน
2.กลิ่น
มีกลิ่นที่หอมกว่าน้ำยาล้างจานที่ทำเอง
มีกลิ่นที่หอมน้อยกว่าน้ำยาล้างจานทั่วไป
3.ปริมาณในการใช้น้ำยาล้างจาน
มีการใช้ปริมาณในการล้างจาน
มีการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าน้ำยาล้างจานทั่วไป

สรุปผลการทดลอง
จากตารางการเปรียบเทียบระหว่างน้ำยาล้างจานทั่วไปและน้ำยาล้างจานที่ทำเอง พบว่าทั้งสองแบบสามารถทำความสะอาดและขจัดความมันได้ดีเท่ากัน แต่กลิ่นของน้ำยาล้างจานทั่วไปจะมีกลิ่นที่หอมกว่าน้ำยาล้างจานที่ทำเอง ในส่วนปริมาณในการใช้น้ำยาล้างจานทำเองจะใช้ปริมาณที่น้อยกว่าน้ำยาล้างจานทั่วไป ดังนั้นน้ำยาล้างจานที่ทำเองมีมีประสิทธิภาพดีกว่า แถมยังค่าใช้จ่ายยังถูกอีกด้วย
การปรับปรุงแก้ไข
น้ำยาล้างจานของคณะผู้จัดทำควรจะเพิ่มกลิ่นที่มีความเข้มข้นหรือปริมาณของกลื่นมากกว่านี้


บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ


อภิปรายและสรุปผล

จากการที่เราได้ศึกษาและได้ทำการผลิตน้ำยาล้างจานจากมะนาวและมะกรูดออกมาใช้นั้น น้ายาล้างจานมีประสิทธิภาพในการชำระสิ่งสกปรก ซึ่งน้ำยาล้างจานของเรานั้นมีส่วนผสมของมะนาวและมะกรูดที่ช่วยในการชำระล้างสิ่งสกปรก และช่วยขจัดคราบมันและกลิ่นคาว เกลือช่วยขจัดสิ่งสกปรก ส่วนหัวเชื้อ N70 และF24 ช่วยให้น้าล้างจานของเรามีฟองให้ดูน่าใช้ อีกทั้งกลิ่นมะนาวยังช่วยให้น้ำยาล้างจานนั้นมีกลิ่นที่หอมมากขึ้น ดังนั้นน้ำยาล้างจานมะกรูดที่เราผลิตขึ้นนี้จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทางเลือกใหม่ที่ดีอีกทางหนึ่งของแม่บ่านและพ่อบ้าน ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

ข้อเสนอแนะ
ผู้ที่สนใจจะทำน้ำยาล้างจานสามารถนำไปต่อยอดโดยการใช้สมุนไพรอื่นๆ นอกจากมะนาวและมะกรูด อาจจะเปลี่ยนเป็นผลไม้หรืออะไรเพิ่มเติมเพื่อให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น